top of page

เมียนมาร์

เป็นประเทศที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ และมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าอย่างมาก ด้านพรมแดนพม่าติดกับไทย จีน อินเดีย นับว่าเป็น แหล่งพลังงานAEC  ที่น่าสนใจแต่ด้วยเหตุที่พม่าปิดประเทศทำให้ในขาดองค์ความรู้สำหรับการขุดเจาะปิโตรเลียม ปัจจุบันพม่าเปิดประเทศมากขึ้นทำให้หลายชาติเข้าไปลงทุนมากขึ้น พื้นที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศเมียนมาร์ เป็นที่ราบสูง มีทิวเขาทอดยาวจากทิศเหนือและจดมาทางใต้ประกอบกับได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้มีฝนตกชุกและมีทรัพยากรน้ำมาก ทำให้พื้นที่เหล่านี้ก็เป็นอีกหนึ่งขุมพลังงานใน AEC ที่มองข้ามไม่ได้

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

สำหรับลาวมีรายได้หลักจากการส่งออกพลังงาน อาทิ ไฟฟ้าพลังน้ำของลาว รวมถึงน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของพม่าให้กับจีนและอาเซียน เพราะลาวมีศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำสูงมาก รัฐบาลลาวได้เตรียมพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำในพื้นที่ริมแม่น้ำโขงอีก11 โครงการ เพื่อที่จะสร้างตนเองให้เป็นแหล่งพลังงาน AEC  ที่สำคัญโดยเฉพาะพลังงานน้ำให้เป็นแบตเตอรี่ของอาเซียน

กัมพูชา

ธนาคารโลกประเมินว่า แหล่งพลังงานกัมพูชาน่าจะมีน้ำมันถึง 2 พันล้านบาร์เรล ก๊าซธรรมชาติอีก 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต โดยจะสร้างรายได้ให้กัมพชูาไม่น้อยกว่า 2 พันล้านดอลลาร์ต่อปี นอกจากนี้รัฐบาลกัมพูชายังได้เดินหน้านโยบาย  พลังงานแสงอาทิตย์ โดยขณะนี้โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ได้ถูกอนุมัติและกำลังก่อสร้างไปแล้ว 

เวียดนาม

เป็นประเทศที่มีทรัพยากรด้านพลังงานสูงมาก ในขณะนี้เวียดนามมีแหล่งน้ำมันสำรองที่สำรวจแล้วในระดับ 600 ล้านบาร์เรล และยังมีการค้นพบแหล่งน้ำมันสำรองเพิ่มเติมอยู่เรื่อย ๆ ด้วยเหตุนี้ ทำให้เวียดนามดำเนินการลงทุนสร้างโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่อีก 2 โครงการ รวมไปถึงระบบขนส่งน้ำมันที่กระจายไปทั่วประเทศ 

มาเลเซีย

มีปริมาณน้ำมันดิบสำรอง มากที่สุดในอาเซียน  ทั้งยังมีปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองที่ 83 ลล.ลบ.ฟุต สูงเป็นอันดับสองในอาเซียน นอกจานี้มาเลเซียยังอุดมด้วยก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ค้นพบในประเทศ เอาไปทำประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้มากมาย สามารถนำไปอัดภายใต้ความดันสูงให้กลายเป็นก๊าซธรรมชาติอัดเหลว (LNG) และส่งออกไปขายต่างประเทศ 

บรูไนดารุสซาลาม

เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 3 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีปริมาณสำรองน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเยอะมาก แม้บรูไนจะร่ำรวยด้วยน้ำมัน ทว่ารัฐบาลบรูไนก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ เนื่องจากว่า น้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป ด้วยเหตุนี้ทำให้รัฐบาลมีนโยบายลดปริมาณการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติลงเพื่อให้บรูไนคงความเป็นแหล่งพลังงาน AEC  จึงได้กำหนดแผนกระจายฐานทางเศรษฐกิจ เช่น การเกษตร ท่องเที่ยว อุตสาหกรรมอาหารฮาลาล และพลังงานทางเลือก

อินโดนีเซีย

มุ่งเน้นนโยบายลดการพึ่งพาการใช้น้ำมันและก๊าซ รวมถึงถ่านหิน และให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานในรูปแบบใหม่มากขึ้น โดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของ สำหรับนโยบายด้านพลังงานทดแทนรัฐบาลให้ความสนใจกับพลังงานลม และมีความสนใจในการพัฒนาพลังงานชีวมวลเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งพลังงานใหม่ใน AEC

ฟิลิปปินส์

สำหรับพลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวล ปัจจุบันฟิลิปปินส์มีขีดความสามารถในการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวลราว 57.2 เมกะวัตต์ (MW) และมีเป้าหมายเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตอีก 200 MW ภายในปี 2573  นอกจากนี้ มีบริษัทต่างชาติให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในด้านนี้เช่นกัน การลงทุนจากต่างประเทศทำให้ฟิลิปปินส์มีแหล่งพลังงานเพิ่มมากขึ้นซึ่งส่งผลให้แหล่งพลังงาน AEC มีมากยิ่งขึ้น

สิงค์โปร์

ตลาดกลางสิงคโปรซึ่งเป็นศูนย์กลางซื้อขายน้ำมันระหว่างประเทศที่สําคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกไกลนอกจากนี้ สิงคโปรยังเป็นที่ตั้งของสํานักงานตัวแทนบริษัทน้ำมันรายใหญ่ทั่วโลกประมาณ 325 บริษัท มีปริมาณการซื้อขายสูงเช่นเดียวกับตลาดในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ขณะนี้ยังมีความพร้อมที่จะก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการค้าพลังงานชีวมวล (biomass) 

bottom of page