top of page

การผลิตปิโตรเลียม

เมื่อแยกเอา น้ำ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และสารปนเปื้อนอื่นๆ ออกจากน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ น้ำมันดิบจะถูกส่งผ่านไปยังสถานีแยกปิโตรเลียมเพื่อแปรสภาพให้เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปชนิดต่างๆ ที่เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ

 

การแยก(Separation) โดยส่วนใหญ่จะแยกโดยวิธีดังนี้

การกลั่นลำดับส่วน (Fractional Distillation) - โดยอาศัยความแตกต่างของจุดเดือดของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนแต่ละชนิดที่รวมอยู่ในน้ำมันดิบ โดยนำน้ำมันมาให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 368-385 องศาเซลเซียส แล้วผ่านเข้าไปในหอกลั่น น้ำมันที่ร้อนจะกลายเป็นไอลอยขึ้นไปยอด และควบแน่นเป็นของเหลวตกลงบนถาดรองรับในแต่ละช่วงของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ จากนั้นของไหลในถาดก็จะไหลออกมาตามท่อเพื่อน้ำไปเก็บแยกตามประเภท และนำไปใช้ต่อไป

 การเปลี่ยนโครงสร้าง (Conversion) เพื่อให้น้ำมันที่ได้มีคุณภาพที่ดี เหมาะแก่การนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง

การผสม (Blending) คือการนำผลิตภัณฑ์ที่ได้มาเติมหรือผสมสารที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปตามที่ต้องการ

การปรับคุณภาพ (Treating) กำจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากน้ำมัน ซึ่งสิ่งแปลกปลอมที่สำคัญจะเป็นสารจำพวกกำมะถัน ซึ่งมีหลายวิธี

1. กระบวนการแตกสลาย (Cracking process) ทำให้สารประกอบไฮโดรคาร์บอนโมเลกุลใหญ่แตกออกเป็นโมเลกุลเล็ก โดยใช้ความร้อนสูงประมาณ 500 องซาเซลเซียส และมีตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสม

2. กระบวนการรีฟอร์มมิ่ง (Reforming process) เปลี่ยนสารประกอบไฮโดรคาร์บอนโซ่ตรง ให้เป็นไอโซเมอร์แบบโซ่กิ่ง หรือเปลี่ยนสารประกอบไฮโดรคาร์บอนแบบวง ให้เป็นสารอะโรมาติก โดยใช้ความร้อนสูงและมีตัวเร่งปฏิกิริยา

3. กระบวนการแอลคิเลชัน (Alkylation process) เป็นการรวมสารประกอบแอลเคน และแอลคีนโซ่กิ่งที่มีมวลโมเลกุลต่ำ เกิดเป็นโมเลกุลสารประกอบแอลเคนที่มีโครงสร้างเป็นแบบโซ่กิ่งที่มีโมเลกุลใหญ่ขึ้น

4. กระบวนการโอลิโกเมอไรเซชัน (Oligomerization process) เป็นกระบวนการรวมสารประกอบแอลคีนโมเลกุลเล็กเข้าด้วยกัน โดยใช้ความร้อนหรือตัวเร่งปฏิกิริยา เกิดเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีจำนวนอะตอมคาร์บอนเพิ่มขึ้น มีพันธะคู่เหลืออยู่ในผลิตภัณฑ์

bottom of page